วันอาทิตย์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2560

อุปกรณ์พื้นฐานของคอมพิวเตอร์

              อุปกรณ์พื้นฐานคอมพิวเตอร์


       คอมพิวเตอร์ถูกพัฒนาขึ้นมาจากการคำนวณทางด้านคณิตศาสตร์ของมนุษย์ เริ่มตั้งแต่การนับนิ้วมือ
การขีดสัญลักษณ์บนพื้นดิน การเรียงหิน การคำนวณด้วยลูกคิด การคำนวณด้วยเครื่องคำนวณแบบกลไก จนปี ค.ศ.1822 ชาลส์ แบบเบจ (Charles Babbage) ได้คิดค้นและสร้างเครื่องคำนวณแบบอัตโนมัติ
ซึ่งเป็นต้นแบบของการสร้างคอมพิวเตอร์ในยุคปัจจุบัน มีกระบวนการทำงานอย่างเป็นระบบด้วยอุปกรณ์คอมพิวเตอร์หลายๆ ชิ้นเชื่อมต่อเข้าด้วยกัน ซึ่งความแตกต่างของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์นั้นจะขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้งานของผู้ใช้คอมพิวเตอร์ ดังตัวอย่างต่อไปนี้
 1.อุปกรณ์คอมพิวเตอร์สำหรับผู้ทำงานด้านเอกสารสิ่งพิมพ์ 
ได้แก่ จอภาพ เคส เมาส์
แผลแป้นอักขระ  สแกนเนอร์ และเครื่องพิมพ์


 2.อุปกรณ์คอมพิวเตอร์สำหรับผู้ทำงานด้านมัลติมัเดีย 
ได้แก่ จอภาพ เคส เมาส์ แผงแป้นอักขระ 
สแกนเนอร์ ลำโพง ไมโครโฟน และกล้องดิจิทัล  


   นอกจากอุปกรณ์ของคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะมีจำนวนแตกต่างกันแล้ว คุณภาพหรือประสิทธิภาพของอุปกรณ์นั้นๆ ความแตกต่างของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่ตอบสนองต่อการทืำงานของมนุษย์ในแต่ละ
ด้านนั้นจะทำงานบนพื้นฐานของระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งประกอบด้วยองค์ประกอบหลัก 5 ส่วน ได้แก่ 
1.หน่วยรับเข้า (Input Unit) ทำหน้าที่รับข้อมูล โปรแกรม และคำสั่งต่างๆ เข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์
2.หน่วยประมวลผล (CPU: Central Processing Unit) ทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูลแล่งเป็น 2 ส่วน 
หน่วยควบคุม (Control Unit) ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ หน่วยคำนวณและตรรกะ
(Arithmetic Logic Unit) ทำหน้าที่คำนวณทางคณิตศาสตร์และเปรียบเทียบค่าทาง ตรรกศาสตร์
3.หน่วยความจำหลัก (Main Memory Unit) ทำหน้าที่บันทึกโปรแกรมและข้อมูลที่จำเป็นต่อการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ แบ่งเป็น 3 ส่วน แรม (RAM: Random Access Memory) 
รอม (ROM: Read-Only Memory) และซีมอส (CMOS: Complementary Metal-Oxide Semiconductor)
4.หน่วยความจำรอง (Storage Unit) ทำหน้าที่จัดโปรแกรมและข้อมูลที่ใช้ในการประมวลผลเมื่อไม่มีกระแสไฟฟ้าหรือปิดคอมพิวเตอร์
5.หน่วยส่งออก (Output Unit) ทำหน้าที่แสดงผลที่ได้จากการประมวลผลข้อมูลจากคอมพิวเตอร์
ไปยังผู้ใช้
     องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์ดังกล่าวจะทำงานผ่านอุปกรณ์คอมพิวเตอร์แต่ละประเภท 
โดยอุปกรณ์บางอย่างจะติดตั้งอยู่ในเคสคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์พื้นฐานคอมพิวเตอร์ที่ตอบสนองต่อการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ ได้แก่ แผงแป้นอักขระ เมาส์ เคส และจอภาพ หากคอมพิวเตอร์ขาดอุกรณ์เหล่านี้ก็จะไม่สามารถใช้งานได้


1.แผงแป้นอักขระ แป้นพิมพ์ หรือคีย์บอร์ด (Keyboard) เป็นอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่ในหน่วยรับเข้า ประกอบด้วยแป้นพิมพ์สำหรับกดเพื่อป้อนข้อมูลเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์แผงแป้นอักขระของคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่นิยมใช้กันโดยทั่วไป แบ่งเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มแป้นตัวอักษรหรือกลุ่มแป้นหลัก (Main Key) จำนวน 61 แป้น กลุ่มแป้นตัวเลข (Numeric) จำนวน 17 แป้น 
กลุ่มแป้นคำสั่ง (Function Key) จำนวน 16 แป้น และกลุ่มแป้นลูกศร (Arrow Key) จำนวน 10 แป้น
และจำนวนแป้นพิมพ์ลดหลั่นลงไปตามประเภทของคอมพิวเตอร์เครื่องนั้นๆ เช่น คอมพิวเตอร์แบบพกพา
หรือโน็ตบุ๊ค (Notebook) โดยมีจำนวนแป้นพิมพ์ประมาณ 86 แป้น เรียงต่อกันโดยไม่ได้แบ่งกลุ่มของแป้นพิมพ์อย่างชัดเจนเหมือนคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล



2.เมาส์ (Mouse) เป็นอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่ในหน่วยรับเข้า ใช้สำหรับควบคุมการชี้ตำแหน่งหรือเคอร์เซอร์ (Cursor) บนจอภาพ เมาส์มีหลายประเภท แต่ละประเภทมีส่วนประกอบที่แตกต่างกัน ปัจจุบันนิยมใช้เมาส์แบบแสงอินฟราเรค (Optical Mouse) 





3.เคส (Case) มีลักษณะเป็นกล่องเหล็กหรือพลาสติกชนิดแข็ง ใช้สำหรับติดตั้งอุปกรณ์คอมพิวเตอร์หลายประเภท ด้านหลังใช้เชื่อมต่อสายไฟฟ้าและสายรับส่งสัญญาณข้อมูลเพื่อเชื่อมต่อไปยังอุปกรณ์คอมพิวเตอร์อื่นๆ โดยอุปกรณ์พื้นฐานที่จำเป็นและต้องติดตั้งใรเคส ได้แก่ หม้อแปลงไฟฟ้า เมนบอร์ด ไมโครโฟนเซสเซอร์ แรม และฮาร์ดิสก์



3.1.หม้อแปลงไฟฟ้า (Power Supply) ทำหน้าที่รับ แปลง และส่งต่อกระแสไฟฟ้าไปยังอุปกรณ์คอมพิวเตอร์อื่นๆ ทั้งที่ติดตั้งภายในและที่เชื่อมต่อจากด้านหลังของเคส
3.2.เมนบอร์ด (Main Board) หรือมาเตอร์บอร์ด (Mother Board) ทำหน้าที่เชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์
อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ มีลักษณะเป็นแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด
3.3.ไมโครโฟรเซสเซอร์ (Microprocessor) บางทีเรียกว่า หน่วยประมวลผลกลาง มีลักษณะเป็น
ไม่โครชิป (Micro Chip) ติดตั้งบนเมนบอร์ด โดยประสิทธิภาพในการประมวลผลของคอมพิวเตอร์จะขึ้นอยู่กับประสิทธอภาพของไมโครโฟนเซสเซอร์เป็นหลัก
3.4.แรม (RAM) ทำหน้าที่ในหน่วยความจำหลัก ข้อมูลที่ถูกเก็บบันทึกไว้ในหน่วยความจำประเภทนี้
จะถูกลบหายไปเมื่อปิดคอมพิวเตอร์
3.5.ฮาร์ดิสก์ (Hard Disk) ทำหน้าที่ในหน่วยความจำรอง ใช้สำหรบเก็บข้อมูล และชุดคำสั่งที่จำเป็นในการใช้งานคอมพิวเตอร์ ซึ่งแตกต่างจากอุปกรณ์ในหน่วยความจำรองอื่นๆ ที่สามารถติดตั้งหรือเชื่อมต่อเฉพาะเวลาที่ต้องการบันทึกข้อมูลเท่านั้น



4.จอภาพหรือมอนิเตอร์ (Monitor) เป็นอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่ในหน่วยส่งออกโดยทำงานร่วมกับการ์ดจอที่ติดตั้งภายในเคส ประเภทที่นิยมใช้ในปัจจุบัน คือ จอภาพแบบแบนหรือจอแอลซีดี (LCD: Liquid Crystal Display) ใช้พื้นที่ในการติดตั้งน้อย เนื่องจากใช้เทคโนโลยีของผลึกเหลวที่เป็นสารโปร่งใส


อุปกรณ์เครือข่ายคอมพิวเตอร์

อุปกรณ์เครือข่ายคอมพิวเตอร์  
การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยส่งเสริมการทำงานด้านต่างๆ นอกจากการเชื่อมต่ออุปกรณ์เพื่อส่งเสริมการทำงานเฉพาะด้านแล้ว การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ในรูปแบบของ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ 
(Network Computer) โดยอุปกรณ์อื่นๆ ที่นอกเหนือจาก คอมพิวเตอร์ที่ติดตั้งการ์ดแลน (LAN Card) แล้วยังนิยมใช้สายรับและส่งสัญญาณ ข้อมูล ฮับ โมเด็ม และอุปกรณ์จัดเส้นทางช่วยในการเชื่อมต่อเครือข่ายคอมพิวเตอร์
1.สายรับและส่งสัญญาณข้อมูล (Data Line) เป็นอุปกรณ์พื้นฐานที่นิยมใช้ในการเชื่อมต่อเพื่อเป็นสื่อกลางระหว่างอุปกรณ์แทบทุกประเภทกับคอมพิวเตอร์ หากนำมาเชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์ใน
เครือข่ายทีี่ใช้คอมพิวเตอร์มากกว่า 1 เครื่อง จะเรียกว่า สายแลน (LAN Line หรือ LAN Cable) ปัจจุบันนิยมใช้สายคู่บิดเกลียวแบบไม่มีชั้นโลหะห่อหุ้มหรือสายยูทีพี (UTP: Unshielded Twisted Pair)

 2.ฮับ (Hub) ทำหน้าที่เชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์ต่างๆ กับคอมพิวเตอร์และคอมพิวเตอร์กับคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายที่มีโครงสร้างแบบดาว (Star Network) ฮับมีลักษณะเป็นกล่องสี่เหลี่ยวขนาดเล็ก น้ำหนักเบา
มีช่องสำหรับรับและส่งสัญญาณข้อมูลหลายๆ ช่องเรียงกัน โดยช่องแรกจะนิยมเชื่อมต่อเพื่อรับและส่งข้อมูลกับเครื่องแม่ข่ายหรือเครื่องเซิร์ฟเวอร์ (Server) จะเชื่อมต่อกับเครื่องลูกข่ายหรือเครื่องไคลเอนต์ (Client)


3.เอดีเอสแอล (ADSL : Asymmetric Digital Subscribers Line) เป็นเทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูลความเร็วสูงรูปแบบใหม่ที่สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตและเครือข่ายระยะไกลได้ด้วยความเร็วสูง ประโยชน์ของเอดีเอสแอล (ADSL) คิือ สามารถใช้งานโทรศัพท์และอินเทอร์เน็ตได้พร้อมกันด้วยสายสัญญาณเส้นเดียวกัน


4.อุปกรณ์จัดเส้นทาง เป็นอุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์กับเครือข่ายขนาดใหญ่ที่มีความซับซ้อน อุปกรณ์จัดเส้นทางมีหลายประเภท แต่ละประเภทเหมาะต่อการเชื่อมต่อเครือข่ายที่มีขนาดและประเภทของสัญญาณแตกต่างกันเช่น
4.1.บริดจ์ (Bridge) เหมาะสำหรับเชื่อมต่อกับเครือข่ายที่ไม่มีความซับซ้อนมากนัก
4.2.เราเตอร์(Router) เหมาะสำหรับเชื่อมต่อระหว่างเครือข่าย 2 เครือข่ายที่มีขนาดหรือมาตรฐาน
แตกต่างกัน
4.3.เกตเวย์ (Gateway) เหมาะสำหรับเชื่อมต่อกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์หลายๆ เครือข่ายที่มีความซับซ้อนมากๆ ซึ่งไม่มารถจัดเส้นทางได้ด้วยบิรดจ์และเราเตอร์


                                                                                                                                 

สรุปเนืิ้อหา
อุปกรณ์พื้นฐานคอมพิวเตอร์  อุปกรณ์พื้นฐานของคอมพิวเตอร์ คือ อุปกรณ์ที่จำเป็นต่อการทำงานขั้นพื้นฐานของคอมพิวเตอร์ ซึ่งหากไม่มีอุปกรณ์ดังกล่าวคอมพิวเตอร์จะไม่สามารถทำงานได้ อุปกรณ์พื้นฐานคอมพิวเตอร์ ได้แก่ แผงแป้นอักขระ เมาส์ เคส และจอภาพ โดยอุปกรณ์ดังกล่าวจะทำงานตามระบบคอมพิวเตอร์ 5 ส่วน ได้แก่ หน่วยรับเข้า หน่วยประมวลผล หน่วยความจำหลัก หน่วยความจำรอง และหน่อวยส่งออก
อุปกรณ์เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและส่งเสริมการทำงานเฉพาะด้านคอมพิวเตอร์ เช่น เครื่องพิิิิมพ์ช่วยนำเสนอข้อมูลในรูปแบบของเอกสารสิ่งพิมพ์ สแกนเนอร์ช่วยรับข้อมูลแล้วเปลี่ยนให้เปฝ้นไฟล์ภาพ และโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่มีคุณสมบัติเหมือน Removable ทำให้สามารถถ่ายโอนข้อมูลระหว่างหน่วยความจำของโทรศพัท์เคลื่อนที่กับคอมพิวเตอร์
อุปกรณ์เครือข่ายคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์เครือข่ายคอมพิวเตอร์ คือ อุปกรณ์ที่ช่วยเสริมการทำงานแบบกลุ่มให้สามารถใช้งานข้อมูลและอุปกรณ์ในเครือข่ายด้วยกันได้  อุปกรณ์เครือข่ายคอมพิวเตอร์ใีหลายประเภท เช่น สายรับและส่งสัญญาณข้อมูลทำหน้าที่เป็นสื่อกลางระหว่างอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ฮับทำหน้าที่รับและกระจายสัญญาณข้อมูลให้กับคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในเครือข่าย เอดีเอสแอลเป็นเทคโนโลยีการสื่อสรข้อมูลความเร็วสูงที่สามมารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตและเครือข่ายระยะไกลได้ด้วยความเร็วสูง และอุปกรณ์จัดเส้นทางทำหน้าที่ทวน แยกประเภท แปลง และจัดการกับสัญญาณข้อมูลในเครือที่มีความสลับซับซ้อน

อุปกรณ์เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์

อุปกรณ์เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์



 คอมพิวเตอร์สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ได้อย่างหลากหลาย ช่วยแก้ปัญหาและส่งเสริมการทำงานทุกด้าน ในหน่วยการเรียนรู้นี้จะนำเสนออุปกรณ์เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ที่นิยมใช้ในปัจจุบัน ได้แก่ เครื่องพิมพ์ สแกนเนอร์ และโทรศัพท์เคลื่อนที่



    เครื่องพิมพ์ 
เครื่องพิมพ์หรือพรินเตอร์ (Printer) เป็นอุปกรณ์เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่ในหน่วยส่งออกในรูปแบบของสิ่งพิมพ์โดยสามารถนำเสนอข้อมูลในรูปแบบของตัวอักษร สัญลักษณ์ รูปภาพ กราฟ และแผนภูมิต่างๆ เครื่องพิมพ์จึงเหมาะสมสำหรับผู้ทำงานทางด้านเอกสาร สิ่งพิมพ์ เครื่องพิมพ์มีหลายประเภท แต่ละประเภทจะตอบสนองต่อการทำงานแตกต่างกัน เครื่องพิมพ์ที่นิยมใช้งานมากที่สุด คือ เครื่องอิงก์เจ็ต (Inkjet Printer) และเครื่องเลเซอร์ (Laser Printer) เนื่องจากมีขนาดเล็ก
 รูปทรงทันสมัย ใช้เวลาในการทำงานน้อย ราคาถูกแต่มีประสิทธิภาพหรือความละเอียดน้อยกว่าเครื่องเลเซอร์ อุปกรณ์สำคัญ 5 อย่าง ได้แก่ คอมพิวเตอร์ ตัวเครื่องพิมพ์ สายรับและส่งสัญญาณ สายไฟฟ้าหรือสายเพาเวอร์ (Power) และแผ่นได้เวอร์ (Driver) เมื่อศึกษาคู่มือการใช้งานแล้วผู้ใช้สามารถเชื่อมต่อเครื่องพิมพ์กับควอมพิวเตอร์ได้ด้วยวิธีการต่อไปนี้
1.เสียบสายรับและส่งสัญญาณด้านหนึ่งที่เคสของคอมพิวเตอร์และอีกด้านหนึ่งที่เครื่องพิมพ์
2.เสียบสายไฟฟ้าด้านหลังเครื่องพิมพ์ โดยเครื่องพิมพ์บางรุ่นสายไฟฟ้านี้จะเชื่อมติดกับตัวเครื่องพิมพ์ไม่สามารถถอดออกได้
3.เสียบสายไฟฟ้าของคอมพิวเตอร์และสายไฟฟ้าของเครื่องพิมพ์ที่แหล่งจ่ายพลังงานไฟฟ้า
4.เปิดคอมพิวเตอร์ แล้วใส่แผ่นไดรเวอร์ของเครื่องพิมพ์ที่เครื่องอ่านและเขียนแผ่นซีดีหรือดีวีดี
5.คอมพิวเตอร์จะเปิดหน้าต่างโปรแกรมของเครื่องพิมพ์ขึ้น เพื่อให้ผู้ใช้ติดตั้งไดรเวอร์ของเครื่องพิมพ์
โดยอัตโนมัติ แต่หากคอมพิวเตอร์ไม่เปิดหน้าต่างโปรแกรมดังกล่าวขึ้นมา ให้ผู้ใช้คลิกปุ่มสตาร์ตแล้วคลิกที่ Devices and Printers
6.ปรากฏหน้าต่าง Devices and Printers ให้คลิกที่ Add a printer
7.ปรากฏหน้าต่าง  Add  Printer ขึ้น ให้ตั้งค่าการติดตั้งเครื่องพิมพ์ แล้วคลิกที่ Next ไปเรื่อยๆ จนสิ้นสุดหน้าต่าง Add Print แต่หากต้องการกลับไปเปลี่ยนการตั้งค่าให้คลิกที่ Back และหากต้องการยกเลิกการติดตั้งเครื่องพิมพ์ให้คลิกทีี่ Cancel
8.คอมพิมเตอร์จะติดตั้งไดรเวอร์ของเครื่องพิมพ์ ซึ่งเมื่อดำเนินการเสร็จสิ้นแล้วจะปรากฏไอคอนเครื่องพิมพ์ที่หน้าต่าง Devices and Printers เมื่อติดตั้งเครื่องพิมพ์เสร็จแล้ว ผู้ใช้สามารถพิมพ์ข้อมูลต่างๆ ผ่านทางซอฟต์แวร์ประยุกต์อื่นๆ ได้ทุกซอฟต์แวร์ เช่น การพืมพ์ไฟล์งานนำเสนอด้วย
Microsoft PowerPoint

    สแกนเนอร์
สแกนเนอร์ (Scanner) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในหน่วยรับเข้า โดยข้อมูลที่ได้จะมีลักษณะเป็นไฟล์ภาพ ไม่สมารถแก้ไขข้อความเหมือน เท็กซ์ไฟล์ (Text File) ได้ ยกเว้นการใช้เทคโนโลยี
โอซีอาร์ (OCR=Optical Characters Reader)
1.Optical Reader เครื่องอ่านรหัสแท่ง หรือเครื่องอ่านบาร์ดค้ด (Bar Code reader) ซึ่งนิยมใช้ในห้างสรรพสินค้าร่วมกับซอฟต์แวร์เฉพาะงาน
2.Optical Scanner ใช้สำหรับนำเข้าข้อมูลประเภทข้อความและรูปภาพ โดยจะใช้ร่วมกับซอฟต์แวร์ กราฟ (Graphics)


       การเชื่อมต่อสแกนเนอร์กับคอมพิวเตอร์นั้นมีวิธีการเหมือนการเชื่อมต่อเครื่องพิมพ์ ได้ด้วยวิธีการนี้
1.เสียบสายและส่งสัญญาณด้านหนึ่งที่เคสของคอมพิวเตอร์และอีกด้านหนึ่งทื่สแกนเนอร์เสียบสายไฟฟ้าด้านหลังเครื่องสแกนเนอร์
2.เสียบสายไฟฟ้าคอมพิวเตอร์กับสายไฟฟ้าสแกนเนอร์ที่แหล่งจ่ายพลังงานไฟฟ้า
3.เปิดคอมพิวเตอร์แล้วใส่แผ่นไดรเวอร์ของสแกนเนอร์ที่เครื่องอ่านและเครื่องเขียนแผ่นซีดีหรือดีวีดี
4.คอมพิวเตอร์จะเปิดหน้าต่างโปรแกรมของสแกนเนอร์ขึ้นเพื่อให้ผู้ใช้ติดตั้งไดรเวอร์ของสแกนเนอร์
โดยอัตโนมัติ   
5.หากคอมพิวเตอร์ไม่เปิดหน้าต่างโปรแกรมดังกล่าวขึ้นมา ให้ผู้ใช้เลือกคลิกปุ่มสตาร์ตแล้วเลือกคลิกที่ 
    Devices and Printers
6.ปรากฏหน้าต่าง Devices and Printers  ให้คลิกที่ Add a devices จะเปิดหน้าต่าง  Add a devices 
เพื่อดำเนินการติดตั้งไดรเวอร์ของสแกนเนอร์
7.ผู้ใช้ปฏิบัติตามคำแนะนำของหน้าต่างโปรแกรมไปเรื่อยๆ จนสิ้นสุดการติดตั้งไดรเวอร์ของสแกนเนอร์  
8.เมื่อดำเนินการเสร็จแล้วจะปรากฏไอคอนสแกนเนอร์ที่หน้าต่าง  Devices and Printers
9.การใช้งานสแกนเนอร์ สามารถคลิกไอคอนสแกนเนอร์บนเดสก์ทอปแล้วคลิก Open 
   การใช้งานสแกนเนอร์นอกจากจะสามารถใช้งานด้ายการดับเบิลคลิกไอคอนของสแกนเนอร์เพื่อเปิดซอฟต์แวร์ด้านกราฟิกของสแกนเนอร์แล้ว ผู็ใช้ยังสามารถเรียกใช้สแกนเนอร์ผ่านซอฟต์แวร์กราฟิกอื่นๆ เช่น การแทรกรูปภาพด้วย Microsoft Word การนำเข้าภาพนิ่งด้วย Adobe Photoshop 

        โทรศัพท์เคลื่อนที่  
     โทรศัพท์เคลื่อนที่ โทรศัพท์มือถือ หรือโทรศพัท์แบบพกพา (Mobile Phone) เป็นอุปกรณ์ที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในสังคมปัจจุบัน ในปัจจุบันสามารถถ่ายภาพนิ่ง ภาพเคลืิ่อนไหว เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต และเรียกใช้ซอฟต์แวร์ต่างๆ ได้คล้ายคลึงกับคอมพิวเตอร์



      การเชื่อมต่อระหว่างโทรศัพท์เคลื่อนที่กับคอมพิวเตอร์มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อใช้ถ่ายโอนข้อมูลซึ่งกันและกัน  
1.เปิดคอมพิวเตอร์
2.เสียบสายรับและส่งสัญญาณด้านหนึ่งที่เคสของคอมพิวเตอร์และอีกด้านหนึ่งที่โทรศัพท์เคลื่อนที่  โทรศัพท์เคลื่อนที่บางประเภทคอมพิวเตอร์สามารถกำหนดให้โทรศัพท์เคลื่อนที่นั้นเป็น Removable เพิ่มขึ้นใน My Computer ซึ่งผู้ใช้สามารถถ่ายโอนข้อมูลได้เหมือนการจัดการ ไฟล์ข้อมูลในคอมพิวเตอร์
3.ถ้าคอมพิวเตอร์ไม่สามารถเชื่อมต่อกับโทรศพัท์มือถือ ผู้ใช้งานใส่แผ่นไดรเวอร์ของโทรศพัท์เคลื่อนที่ ที่เครื่องอ่านและเขียนแผ่นซีดีหรือดีวีดี เพื่อให้คอมพิวเตอร์ติดตั้งไดรเวอร์ของโทรศัพท์มือถืออัตโนมัติ 
4.เลือกคลิกปุ่มสตาร์ตแล้วเลือกคลิกที่ Devices and Printers  
5.ปรากฏไอคอนชื่อรุ่นโทรศัพท์ ในหน้าต่าง Devices and Printers
6.ดับเบิลคลิกไอคอนชื่อรุ่นโทรศัพท์ เพื่อตรวจสอบรายละเอียดและเชื่อมต่อการใช้งานข้อมูลจากโทรศัพท์กับคอมพิวเตอร์
    

อุปกรณ์พื้นฐานของคอมพิวเตอร์

               อุปกรณ์พื้นฐานคอมพิวเตอร์        คอมพิวเตอร์ถูกพัฒนาขึ้นมาจากการคำนวณทางด้านคณิตศาสตร์ของมนุษย์ เริ่มตั้งแต่การนับนิ้ว...